บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คุณสมบัติบัณฑิตคณะบริหารธุรกิจ "ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน อ่อนน้อมถ่อมตน สามัคคี มีวินัย ใจสาธารณะ"

วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2555

กระทรวงสาธารณสุขเตือน หน้าร้อนนี้ เสี่ยงโรค "ฮีตสโตรก"

กระทรวงสาธารณสุขเตือน หน้าร้อนนี้ เสี่ยงโรค "ฮีตสโตรก"
อากาศ ในเมืองไทยในช่วงฤดูร้อนปีนี้ถือว่า ร้อนจัด อันเป็นผลพวงมาจากสภาวะโลกร้อน ทำให้ประชาชนไทยเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหลายโรค โรคที่ยังมีการพูดถึงน้อยมากคือ โรคลมแดด ซึ่งเกิดในช่วงที่สภาพอากาศร้อนจัด ทางการแพทย์เรียกว่า ฮีทสโตรก ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากการได้รับความร้อนเป็นเวลานาน
      ฮีทสโตรก (Heat stroke) หรือที่เรียกกันทั่วไปคือ โรคลมแดด เกิดจากการที่ ร่างกายสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายเกิดความร้อนสะสมสูง จนทำให้ อวัยวะภายใน เช่น… หัวใจ, ตับ, ปอด, ม้าม, สมอง ร้อนระอุจนสุก ทำงานผิดปกติ หรือหยุดทำงาน และทำให้ เสียชีวิต ในที่สุด อาการดังกล่าวนี้อาจเกิดขึ้นได้กับคนที่ต้องเผชิญกับอากาศร้อน จัด ๆ ซึ่งอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ โดยปกติร่างกายจะใช้ เหงื่อ และ ปัสสาวะ เป็นตัว ปรับอุณหภูมิในร่างกายให้สมดุล ในช่วงที่อากาศร้อนมาก ๆ ร่างกายจะเกิดการคายความร้อนออกมาพร้อมกับน้ำในรูปของเหงื่อ ซึ่งพร้อมกับการสูญเสียน้ำก็จะมีการชดเชยด้วยการที่สมองจะสั่งให้เกิดความ รู้สึก หิวน้ำ กลไกสั่งการนี้จะใช้ระดับความเข้มข้นของเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นจากการเสียน้ำ เป็นตัวส่งสัญญาณไปยังสมอง เพื่อสร้างความรู้สึกหิวน้ำให้เกิดขึ้น แต่สำหรับคนที่เกิดอาการ ฮีทสโตรก ร่างกายไม่เพียงขับน้ำออกมาพร้อมกับเหงื่อเท่านั้น แต่ยังสูญเสียเกลือแร่ออกมาด้วย เพราะฉะนว่าร่างกายเกิดขาดน้ำ เนื่องจากระดับความเข้มข้นของเลือดไม่เปลี่ยนแปลง กว่าจะรู้ตัวก็อาจจะสายเกินไป ทั้งนี้ เมื่อร่างกายเสียน้ำมากเกินไปปริมาณเลือดจะลดลงจนไม่อาจไหลเวียนเลี้ยงร่าง กายได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะสมอง และร่างกายจะไม่ยอมให้เกิดการสูญเสียน้ำอีก โดยต่อมเหงื่อจะหยุดทำงานทันที ซึ่งแม้จะหยุดการเสียน้ำได้ แต่ความร้อนก็จะไม่สามารถระบายออกได้ ถึงจุดนี้ก็จะทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เปรียบเหมือนหม้อความดันที่กำลังเดือด ผลก็คืออวัยวะภายในต่าง ๆ จะเกิดภาวะร้อนจนสุก และจะทำงานผิดปกติ หรือหยุดทำงาน อย่างที่ได้กล่าวไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว ซึ่งถึงระดับนี้การรักษาจะทำได้ยาก มีโอกาสเสียชีวิตสูง
  • ใครที่เสี่ยงกับ ฮีทสโตรก มากที่สุด
บางคนอาจคิดว่าก็ต้องเป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงาน หรือเกษตรกร ที่ทำงานกลางแดด แต่จริง ๆ แล้วคนกลุ่มนี้ร่างกายจะปรับตัวจนสามารถรักษาเกลือแร่ไม่ให้สูญเสียไปพร้อม กับเหงื่อได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว คนที่ทำงานบริษัท, คนทำงานออฟฟิศ ที่ส่วนใหญ่อยู่แต่ในห้องแอร์ รวมถึง คนแก่, เด็กเล็ก ๆ ที่ร่างกายจะปรับตัวยากหากต้องโดนแดดแรง ๆ ต่างหากที่เสี่ยงมากกว่าและ ทหารเกณฑ์ ที่เพิ่งถูกเกณฑ์เข้าฝึกตามกรมกองต่างๆ ในช่วงฤดูร้อน ที่ต้องรับสภาพการฝึกกลางแดด ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิด ฮีท สโตรก หรือเสียชีวิตเฉียบพลันด้วยเหตุอื่นในช่วงที่ฝึก ซึ่งทางกองทัพก็ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ก็มีมาตรการป้องกัน จนนับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมาก็ไม่ค่อยมีรายงานการเสียชีวิตอีก
ทั้งนี้มีคำเตือนเกี่ยวกับ ฮีทสโตรก-โรค ลมแดด โดยกระทรวงสาธารณสุข ที่เพิ่งมีออกมาเมื่อวันที่ 29 มี.ค.2552นั้น ผู้ที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือ คนแก่ เด็ก รวมถึง คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง, คนอดนอน, คนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พร้อมมีการระบุว่า หากเกิดฮีทสโตรก อาการสำคัญที่เด่นชัร้อนจัด เพ้อ หรือหมดสติ ชีพจรเต้นเร็ว ความดันเลือดลดลง ช็อก โดยผิวหนังจะแห้งและร้อน ไม่มีเหงื่อออก ระดับความรู้สึกตัวลดลง การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว กระสับกระส่าย เอะอะ ก้าวร้าว เกร็ง ชัก หมดสติ หากตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อย ๆ เกิน 40 องศาเซลเซียส ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน มีโอกาสเสียชีวิต 17-70% ซึ่งในต่างประเทศนั้นมีข้อมูลว่าขนาดสหรัฐอเมริกาที่ว่าเจริญแล้ว ในแต่ละปีก็ยังมีผู้เสียชีวิตเพราะ ฮีทสโตรก ราว 400 คน ขณะที่ในประเทศไทยช่วงปี 2546-2550 เคยพบผู้ป่วย 2 รายที่พระนครศรีอยุธยาและลำปาง โชคดีที่แพทย์ช่วยชีวิตได้ทัน ทั้งนี้ กระทรวง สาธารณสุขระบุว่าในไทยยังไม่เคยมีรายงานอย่างเป็นทางการว่าใครเสียชีวิตด้วย สาเหตุนี้
อย่าง ไรก็ตาม ก็มิได้หมายความว่าคนไทยไม่จำเป็นต้องระวัง ซึ่ง การออกกำลังกาย เป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายเกิดการปรับตัว-สร้างภูมิคุ้มกันในจุดนี้ขึ้นมา และในช่วงฤดูร้อนที่อากาศร้อนจัดหากต้องออกไปทำอะไรในแหล่งที่มีแดดแรงจัด การดื่มน้ำมาก ๆ แม้จะยังไม่รู้สึกหิวน้ำ ก็จะเป็นการ ป้องกันไว้ก่อน

แหล่งที่มาของข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น